ช่วงปลายสัปดาห์ก่อน (9 – 10 มีนาคม 2566) เกิดปัญหาขึ้นในกลุ่มธนาคารภูมิภาค (Regional bank) ในสหรัฐฯ นำโดยธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ที่ประกาศเพิ่มทุน และยอมรับว่าเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนักจากผลขาดทุนในพอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ อันเกิดจากการรับรู้ผลขาดทุนตามราคาตลาด ส่งผลให้มีการแห่ถอนเงิน นำไปสู่การปิดกิจการ และการเข้าช่วยเหลือของบรรษัทประกันเงินฝากของสหรัฐฯ (FDIC) ในที่สุด
ปัญหาของธนาคาร SVB รวมถึงอีกสองธนาคารที่เน้นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ Silvergate และ Signature ของสหรัฐฯ ที่ถูกปิดกิจการไป ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคาร และสถาบันการเงินทั่วโลกปรับตัวลดลงแรงต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการประกาศเข้าช่วยเหลือโดยทางการสหรัฐฯ แล้วก็ตาม
ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคาร และสถาบันการเงินทั่วโลกถูกกดดันต่อเนื่อง ธนาคารซาอุดิ เนชั่นแนล แบงค์ (Saudi National Bank: SNB) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse: CS) ประกาศว่าไม่อาจเพิ่มทุนให้แก่ธนาคารเครดิตสวิส ได้อีกต่อไป เนื่องจากจะทำให้ SNB ถือหุ้นในธนาคารเครดิตสวิส มากกว่า 10% ซึ่งเป็นการผิดกฎระเบียบของธนาคาร
จากข่าวดังกล่าว ทำให้นักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นธนาคารเครดิตสวิสอย่างต่อเนื่อง จนราคาหุ้นในการซื้อขายระหว่างวัน เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ลดลงมากกว่า 30% และนำไปสู่การหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว (Trading halt) ขณะที่ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Default Swap: CDS) ของธนาคาร ได้พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดนับจากวิกฤตซับไพรม์ เมื่อปี 2008 เป็นต้นมา
เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตลุกลาม ธนาคารแห่งชาติสวิส (Swiss National Bank: SNB) ได้ประกาศพร้อมให้ความช่วยเหลือต่อธนาคารเครดิตสวิสถ้าจำเป็น เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดวิกฤตต่อภาคธนาคาร และล่าสุด ธนาคารเครดิตสวิสได้ประกาศขอความช่วยเหลือเงินกู้ยืมจำนวนกว่า 54 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากธนาคารแห่งชาติสวิส เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เครดิตสวิส (Credit Suisse) เป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 170 ปีมาแล้ว มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันเป็นธนาคารที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ เป็นรองเพียงยูบีเอส (UBS) เล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่เครดิตสวิสเผชิญวิกฤตอย่างหนัก โดยราวเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Default Swap: CDS) ของเครดิตสวิสเคยพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์มาแล้ว และหลังจากนั้นไม่นาน เครดิตสวิส ก็ได้รายงานผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 4/2022 สูงถึงกว่า 1.4 พันล้านฟรังก์สวิส และทำให้ผลขาดทุนทั้งปี 2022 สูงถึงกว่า 7.3 พันล้านฟรังก์สวิส รวมถึงลูกค้าได้แห่ถอนเงินฝากไปกว่า 1.1 แสนล้านฟรังก์สวิสในไตรมาสที่ 4 ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการทำผิดกฏระเบียบ การฟอกเงิน และความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีในอนาคต
โดยสรุป จากปัญหาที่สะสมมานานของเครดิตสวิส นับตั้งแต่การถูกตั้งคำถาม การตรวจสอบ ผลขาดทุนมหาศาลเมื่อปีที่ผ่านมา และการแห่ถอนเงินฝากออกจากธนาคารอย่างต่อเนื่อง ทำให้เมื่อภาคธนาคารทั่วโลกประสบปัญหาความเชื่อมั่น และปัญหาสภาพคล่อง เครดิตสวิสซึ่งมีสถานะที่อ่อนแออยู่แล้วจึงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาได้มากที่สุดนั่นเอง
จากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่า ผลประกอบการของ Credit Suisse AG ค่อนข้างอ่อนแอมาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยรายงานผลประกอบการทั้งปี 2022 ขาดทุนสูงถึง 7,293 ล้านฟรังก์สวิส มีรายได้ที่ลดลง 34% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีต้นทุนเทียบรายได้ (Cost to income) เพิ่มขึ้น จาก 84% มาที่ 122% และที่สำคัญ มี Liquidity Coverage Ratio ที่ลดลงต่อเนื่อง
ดังนั้น ให้จับตาดูการประชุมคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในคืนวันที่ 16 มีนาคมนี้ และการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 22 มีนาคมนี้
|
แนวโน้มเศรษฐกิจ
|
แนวโน้มเงินเฟ้อ
|
---|---|---|
ขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อเนื่อง
|
มีโอกาสถดถอยสูงในระยะสั้น
|
ลดลง
|
หยุดขึ้นดอกเบี้ย หรือขึ้นดอกเบี้ยช้าลง
|
มีโอกาสถดถอยสูงในระยะยาว
|
ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้น |
ปัจจุบัน ทุกกองทุนภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ. เคดับบลิวไอ ไม่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ที่ออกโดย SVB, Silvergate Bank, Signature Bank รวมถึง Credit Suisse ทั้งการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ หรือการลงทุนโดยอ้อมผ่านการลงทุนในกองทุนปลายทาง (Master Fund)
อย่างไรก็ดี ภายใต้ภาวะความผันผวนของตลาดการเงิน และตลาดหุ้นในปัจจุบัน ทำให้กองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัท ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนไปด้วย ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าปัญหาภาคธนาคารสหรัฐฯ และยุโรป ในครั้งนี้จะไม่ลุกลามเป็นวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ (Great financial crisis) โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้
อย่างไรก็ดี ปัญหาในภาคธนาคารครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจเชิงมหภาคเช่นเดียวกับวิกฤตซับไพร์มที่ผ่านมา แต่เป็นปัญหาการจัดการและการควบคุมภายใน (Internal management and control) ของบางธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นกรณี SVB ที่มีการนำเงินฝากไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยยาว (Long duration) จำนวนมาก และเมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นก็ประสบปัญหาขาดทุนจากการบันทึกราคาตามมูลค่าตลาด (Mark-to-market) หรือกรณีเครดิตสวิส ที่ประสบปัญหามายาวนานจากการควบคุมภายในที่อาจขาดประสิทธิภาพ
กองทุน |
ขนาดของผลกระทบ |
รูปแบบของผลกระทบ |
KWI USBANK-A |
ปานกลางค่อนข้างสูง |
กองทุนนี้เน้นลงทุนในหุ้นธนาคารในสหรัฐฯ เป็นหลัก ซึ่งย่อมได้รับผลกระทบจากราคาหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับลดลง แม้ว่าจะไม่มีการลงทุนใน SVB, Silvergate, Signature และ Credit Suisse ก็ตาม |
KWI EE EURO |
ปานกลาง |
แม้ว่ากองทุนนี้ จะเน้นลงทุนในหุ้น Emerging Eastern Europe เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ดี สถานะการลงทุนล่าสุดมีการลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) ค่อนข้างสูงราว 48% ซึ่งทำให้การปรับลดลงของราคาหุ้นกลุ่มธนาคารในยุโรปส่งผลกระทบต่อกองทุนระดับหนึ่งเช่นกัน |
กองทุนอื่นๆ ภายใต้การจัดการ |
ต่ำถึงปานกลาง หรือไม่ได้รับผลกระทบ |
กองทุนอื่นๆ โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตราสารทุน ย่อมได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้ภายใต้การจัดการปัจจุบันไม่ได้รับผลกระทบ |